อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ปรับขนาดตัวอักษร
โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ภาษา
ข้อมูลพื้นฐาน
เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดกลาง โดยเปลี่ยนแปลงฐานะ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลไทรม้า อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เป็นเทศบาลเมืองไทรม้า เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2563 โดยมีผลบังคับตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนพิเศษที่ 172 ง ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2563
สำนักงานเทศบาลเมืองไทรม้า
ตั้งอยู่เลขที่ 22/2 หมู่ 2 ซ.ไทรม้า3 ถ.อนุสรณ์ประเสริฐ ตำบลไทรม้า
อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 0-2926-1350-2
จำนวนประชากรทั้งหมด 23,031 คน แยกเป็น
      - ชาย จำนวน 10,622 คน คิดเป็นร้อยละ 46.12
      - หญิง จำนวน 12,409 คน คิดเป็นร้อยละ 53.88
      จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 15,411 ครัวเรือน
ความหนาแน่นเฉลี่ย 2,829.36 คน/ตารางกิโลเมตร
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ทิศใต้
กับ ตำบลบางศรีเมือง และตำบลบางกร่าง
อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ ตำบลบางกระสอ และตำบลสวนใหญ่
อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
ทิศตะวันตก
ติดต่อกับ ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
เมื่อครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณตำบลไทรม้า มีการเดินทางระหว่างบ้านบางกอกกับกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในการเดินทางมีทั้ง ช้าง ม้า และทหาร
เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไทรจำนวนมาก ประกอบกับ
อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทำให้พื้นที่ดังกล่าวเหมาะสำหรับพักม้าและช้างของ
กองทัพทหาร รวมถึงผู้ที่สัญจรผ่านเส้นทางนั้น ป่าแห่งนี้จึงถูก
เรียกว่า "ป่าไทรม้าพัก"
ต่อมาเมื่อมีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนในบริเวณป่าไทรม้าพักเพิ่มมากขึ้น
พื้นที่แห่งนี้จึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า "ไทรม้า"
  1. พัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านการศึกษา การกีฬา การสาธารณสุข ความปลอดภัย และสวัสดิการต่างๆให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
  2. ส่งเสริมการรักษาและพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาภาวะ โลกร้อนภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชน
  3. พัฒนาโครงสร้างฟื้นฐาน สาธารณูปโภค/สาธารณูปการให้ได้มาตรฐาน และ เพียงพอกับความต้องการของประชาชน
  4. พัฒนาด้านการเมืองและการบริหารตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และ เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน
  5. ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยการพัฒนาอาชีพให้ กับประชาชนในท้องถิ่นให้มีรายได้พึ่งตนเองได้ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง
  6. ส่งเสริมด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรมประเพณีอันดีตามวิถีไทย
  • ยุทธศาสตร์ที่ 1
    พัฒนาเมืองนนทบุรี เพื่อการอยู่อาศัยของประชาชนอย่างมีความสุข
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2
    เสริมสร้างและพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3
    เสริมสร้างและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้มาตรฐานและมีมูลค่าเพิ่ม
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4
    พัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์และสังคมให้ก้าวหน้า ปลอดภัยและยั่งยืน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 5
    พัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ และสามารถรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้
  • ยุทธศาสตร์ที่ 6
    พัฒนา ส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นอันดีงาม